หน้าเว็บ

Tech&Tips


 
การใส่เพลง 1. เราต้องมีไฟล์เพลงที่ต้องการใส่ลงในบลอคก่อนนะคะ ซึ่งส่วนใหญ่ทุกคนคงจะมีเป็นไฟล์ .mp3 หรือ .wma นำไฟล์เพลงไป upload ไว้ตามเวบที่รับฝากไฟล์ก่อนนะคะ (file hosting) เพื่อจะให้ได้ URL ของไฟล์เพลงนั้นมา ดูวิธีการ upload ไฟล์ได้ที่บลอคของป้ามดค่ะ Click
                            แต่โดยส่วนตัวแล้ว ตอนนี้ยังหาเวบรับฝากไฟล์ที่ถูกใจไม่ได้เลยค่ะ บังเอิญไปเจอเวบที่แจก URL เพลง คือเวบ GetCode มีช่องให้ค้นหาเพลงที่ต้องการด้วยค่ะ หรือเมื่อเข้าไปหน้าแรกแล้ว ให้เข้าไปที่เมนู "รายชื่อเพลง" จากนั้นกดเลือกเพลงที่ต้องการค่ะ ดังรูป
 

 

 

 2. Copy URL ในช่องสี่เหลี่ยมในกรอบแดงเก็บไว้ก่อนค่ะ อันนี้คือ URL ของเพลง
3. มาดูโค้ดใส่เพลงกันค่ะ
<embed name="objMediaPlayer" pluginspage="http://www.microsoft.com/Windows/MediaPlayer/" src="http://www.bzro.net/getcode/pj.php?1776" width="300" height="47" type="application/x-mplayer2" autostart="false" loop="false" showstatusbar="true" /> </embed />

 มาดูการกำหนดค่าในแต่ละ attribute กันนะคะ
          • src: บริเวณที่ไฮไลท์ไว้ ให้ใส่ URL ของเพลงค่ะ (URL จากข้อ 2)
          • width: กำหนดความกว้างของ Window Media Player
          • height: กำหนดความยาวของ Window Media Player
          • autostart: true ถ้าต้องการให้เพลงเล่นทันทีเมื่อเข้ามาในเวบ / false เพลงจะเล่นต่อเมื่อผู้ใช้กดปุ่ม play ก่อน
          • loop: true เล่นเพลงวนไปเรื่อย ๆ / false เล่นเพลงครั้งเดียว / n ใส่ตัวเลขจำนวนครั้งที่จะให้เพลงวน
          • showstatusbar: true แสดง status bar / false ไม่แสดง status bar (status bar คือ แถบสีดำล่างสุดที่แสดงข้อมูลเกี่ยวกับเพลง เช่น ชื่อเพลง เวลา สถานะ เป็นต้น)
          • volume: กำหนดความดังของเพลง สามารถใส่ตัวเลข 0 - 100 ค่า default ของ Window คือ 50 ค่ะ

4. หลังจากกำหนดค่าต่าง ๆ เรียบร้อยแล้ว ให้นำโค้ดไปใส่ตอนเขียนบลอค โดยกดปุ่ม ก่อนค่ะ เพื่อเข้าสู่ HTML Mode จากนั้นใส่โค้ดลงไป แล้วกดปุ่ม อีกทีค่ะ จะเห็น Window Media Player ขึ้นในหน้าเขียนบลอคแล้วค่ะ แล้วก็ Publish ได้เลยยย
5. เสร็จแล้วค่ะ แค่นี้ก็มีเพลงเพราะ ๆ ฟังในบลอคของคุณแล้ว



การทำภาพสไลด์

ขั้นตอนการทำภาพสไลด์
1.การทำภาพสไลด์ที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ต้องอาศัย โค้ดสองส่วนด้วยกันคือ java script ซึ่งเป็นส่วนควบการทำงานหลักของการสไลด์ภาพ และ CSS เป็นส่วนของการจัดรูปแบบในการนำเสนอภาพให้มีความสวยงามเหมาะสมตรงตามความต้องการที่ผู้จัดทำต้องการนำเสนอ

2.ก่อนที่จะลงมือทำภาพสไลด์นี้เราจะต้องมีการเตรียมความพร้อมก่อน นั้นคือ จะต้องมีการเตรียมรูปภาพที่ต้องการนำไปทำสไลด์ รูปภาพที่เราจะนำไปทำสไลด์นั้นควรมีขนาดของรูปภาพเท่ากันทุกรูป สิ่งนี้จำเป็นเพราะจะทำให้ภาพที่สไลด์ออกมานั้นมีความสวยงามสม่ำเสมอ และอีกอย่างที่จะต้องเตรียมก่อนทำภาพสไลด์นี้ก็คือ ไฟล์ ที่ควบคุมการทำงาน(Java Script) จำนวน 2 ไฟล์(jquery.js, easySlider1.7.js) และไฟล์ css 1 ไฟล์(screen.css)

3.เมื่อเตรียมสิ่งที่กล่าวมาในข้างต้นเรียบร้อยแล้ว เราก็ลงมือเขียนโค้ดได้เลย และในส่วนของการเขียนโค้ดลงไปนั้นจะมีอยู่สองส่วนด้วยกันคือ
                         3.1เขียนโค้ดลงไปในส่วนของ Head (<Head> ...โค้ด... </Head>) ซึ่งเป็นส่วนของการกำหนดค่าการทำงานต่างๆ โดยโค้ดที่จะต้องนำไปเขียนไว้ในส่วนนี้ก็คือ

· การ import ไฟล์ CSS เข้ามา
<link href="../css/screen.css" rel="stylesheet" type="text/css" media="screen" />
· การ import ไฟล์ java script ที่เตรียมไว้เข้ามาใช้
<script type="text/javascript" src="../js/jquery.js"></script>
                <script type="text/javascript"src="../js/easySlider1.7.js"></script>

· เขียนโค้ด java script เพิ่มเติมเพื่อสั่งให้มีการทำงาน โดยพิมพ์ตามด้านล่างนี้
<script type="text/javascript">
                $(document).ready(function(){
                           $("#slider").easySlider({
                                                auto: true, //ภาพสไลด์เองอัตโนมัติ(True)
                             continuous: true,//การกำหนดให้มีการวนภาพซ้ำ(Repeat)
                             numeric: true//เมื่อกดตัวเลขภาพจะสไลด์ตามลำดับตัวเลขนั้น
                            });
                     });          
</script>
                                         3.2เขียนโค้ดลงไปในส่วนของ body(<body>...โค้ด...</body>)เพื่อให้แสดงผล(ให้เขียนโค้ดตรงตำแหน่งตามที่ต้องการให้แสดงผล) โค้ดดังกล่าวดูไปจากด้านล่างนี้

<div id="container">
                         <div id="header">//กำหนดส่วนหัวของรูป
                                <h1>ข้อความที่เป็นห้วข้อของรูปที่สไลด์</h1>
               </div>
<div id="content">
                    <div id="slider">//ส่วนของภาพที่นำไปทำสไลด์
                                <ul>                                              
                                <li><a href="#ลิงค์"><img src="รูปที่ 1(image1.jpg)" alt="คำอธิบายแทนภาพ" /></a></li>
                                <li><a href="#ลิงค์"><img src="รูปที่ 2(image2.jpg)" alt="คำอธิบายแทนภาพ" /></a></li>

                                  </ul>
                                     </div>                  
                                       </div>
                                              </div>

SEO Page Factors ปรับแต่งเว็บให้ตรงจุด

                      
การปรับแต่งเว็บไซต์ให้สามารถทำอันดับได้ดีใน Seaarch Engine ทั้ง Google และ Yahoo นั้น เราต้องมีความเข้าใจรูปแบบการจัดอันดับของ Search Engine ทั้งสองว่ามีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร แล้วค่อยเริ่มปรับแต่งให้ตรงจุด แต่ก่อนอื่นเราต้องรู้ก่อนว่าในการทำ SEO เว็บไซต์นั้น เราสามารถปรับแต่งได้กี่ส่วน ส่วนไหนที่ Search Engine มักจะนำไปพิจรณา และส่วนไหนที่ Search Engine มองข้าม
การทำ SEO (Search Engine Optimization) สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วนหลักคือ

1. On-Page Factors
2. Off-Page Factors

               
อาจจะสงสัยว่าเขามีการจำแนกอย่างไรถึงจะจัดการปรับแต่งเว็บไซต์นั้นอยู่ในกลุ่มของ On-Page Factors อย่างไรถึงจะจัดอยู่ในกลุ่มของ Off-Page Factors จริงๆ แล้วไม่มีอะไรยุ่งยากเลยครับ On-Page คืออะไรที่เราสามารถปรับแต่ง หรือควบคุมได้ด้วยตัวเราเอง ส่วนอะไรที่เราไม่สามารถควบคุมได้จัดอยู่ใน Off-Page ทั้งหมดครับ

On-Page Factors Optimization
              
การปรับแต่งแบบ On-Page Factors ถือว่าเป็นเรื่องแรกๆ ที่เราต้องทำสำหรับการทำ SEO เลยก็ว่าได้ เพราะว่าเราสามารถเริ่มทำด้วยตัวของเราเอง และปัจจัยในการจัดอันดับของ Search Engine ในปัจจุบันนั้นก็ได้พิจรณาในเรื่องนี้ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่า Off-Page Factors เลย สำหรับส่วนที่ผู้ทำ SEO นิยมปรับแต่งได้แก่ Title, Head Tag, Meta Tag, Image Tag, Density of Keywords และ
Outbound-Links

Off-Page Factors Optimization
               
หลังจากที่มีเว็บไซต์เกิดขึ้นจำนวนมากในโลกของเรา เว็บต่างๆ แข่งกันทำอันดับด้วยการปรับแต่ง On-Page เพื่อให้ได้มาซึ่งอันดับที่ดี บางคนถึงกับทำจนเข้าข่ายการโกง (Spam) ทำให้ทาง Search Engine ได้มีการคิดรูปแบบการพิจรณาในการจัดอันดับเพิ่มมากขึ้น หนึ่งในนั้นก็คือการนำ Off-Page Factors มาใช้ในการจัดอันดับ เพราะว่าเจ้าของเว็บไม่สามารถควบคุมได้ ทุกอย่างจะเป็นไปตามธรรมชาติ แต่ก็ใช่ว่าเราจะไม่มีสิทธ์สร้างสิ่งเหล่านี้ขึ้นมา สำหรับส่วนที่ผู้ทำ SEO นิยมปรับแต่งได้แก่ Incomming-Links, Age of Domain และ
Behavior of Vistors

               
สำหรับรายละเอียดลึกๆ ลงไปในเรื่องของการปรับแต่งทั้ง On-Page Factors และ Off-Page Factors ผมจะกล่าวอีกทีในบทต่อไป ตอนนี้แค่เกรินให้พอนึกภาพออกก่อนว่ารูปแบบเป็นอย่างไร หากเราสามารถปรับแต่งส่วนต่างๆ ได้ครบทุกเม็ดรับรองว่าเว็บไซต์ของท่านจะอันดับดีขึ้นอย่างไม่ต้องสงสัย


 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น